ครอบฟัน (Crown)
การทำ ครอบฟัน เป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย แตกหัก หรือได้ผ่านการรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์จะทำการ ครอบฟัน ซี่นั้นด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีดังเดิม
ประโยชน์ของ ครอบฟัน มีดังนี้
-
ช่วยปกป้องฟันที่อ่อนแอ เนื่องจากแตก หัก บิ่น มีการผุมาก หรือได้รับการรักษารากฟัน และช่วยให้มีความแข็งแรงดังเดิม
-
ช่วยป้องกันฟันที่ได้รับการครอบจากการเกิดฟันผุ
-
ช่วยปกปิดฟันซี่เดิมที่ไม่สวยงาม ด้วย ครอบฟัน ที่มีรูปร่างและสีสันที่สวยตามที่ต้องการ
-
ช่วยให้สามารถรักษาตำแหน่งฟันและประสิทธิภาพการทำงานให้เหมือนดังเดิม
-
ช่วยบูรณะฟันที่มีรูผุใหญ่ หรือมีวัสดุอุดเดิมที่ใหญ่เกินไปได้
-
เป็นองค์ประกอบในการทำ สะพานฟัน
-
ช่วยบูรณะและการคงสภาพการสบฟันของผู้ป่วยตามธรรมชาติ
-
เป็นองค์ประกอบใน การปลูก รากฟันเทียม ไททาเนียม
-
ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงาม
ประเภทของ ครอบฟัน
1. ครอบฟัน แบบเซรามิกและโลหะ
2. ครอบฟัน แบบเซรามิกล้วน
3. ครอบฟัน แบบโลหะล้วน (ทอง)
การรักษาด้วยการทำ ครอบฟัน
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำ ครอบฟัน
1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
-
การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อทำ ครอบฟัน
-
การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ ครอบฟัน
-
การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำ ครอบฟัน
-
การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
-
แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำ ครอบฟัน
-
ทันตแพทย์จะทำการติด ครอบฟัน แบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอ
2. ขั้นตอนการติด ครอบฟัน
-
การรื้อ ครอบฟัน แบบชั่วคราวออก
-
การติดยึด ครอบฟัน แบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
3. ขั้นตอนการดูแลรักษา
-
ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาด ครอบฟัน เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึด ครอบฟัน นั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำ ครอบฟัน
การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดี นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก ครอบฟัน สามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็น ฐานรองรับ ครอบฟัน มีสุขภาพแข็งแรง
1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึด ครอบฟัน
2. สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆ ได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
3. ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติด ครอบฟัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
4. อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
-
หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำมะนาว เป็นต้น
-
การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
-
ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
-
ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
-
ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆ จนกว่าจะเคยชินกับ ครอบฟัน ใหม่
วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำ ครอบฟัน
-
ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและ ฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
-
ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
-
ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
-
ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณฟันที่ได้รับการ ครอบฟัน
-
ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
ในประเทศไทยการผลิต ครอบฟัน ส่วนใหญ่ยังคง ใช้วิธีการดั้งเดิมด้วยการปั้นแต่งขี้ผึ้งด้วยมือบนแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์จากปากคนไข้ เพื่อใช้ในการหล่อเหวี่ยงเป็นฐานโลหะ จากนั้นจะทำการเคลือบเซรามิกที่ผิวหน้า ทำให้ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญที่มีประสบการณ์สูงในการผลิต และในการผลิตแต่ละครั้งยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนยังไม่สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากตามปริมาณความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ประกอบกับความต้องการ ครอบฟันและสะพานฟัน แบบเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในระดับนานาชาติและในประเทศ เนื่องจากคุณสมบัติทางกลและทางกายภาพของ ครอบฟันและสะพานฟัน แบบเซรามิกดีกว่า ครอบฟัน เซรามิกบนโครงโลหะ จึงมีแนวโน้มว่าอาจจะมาทดแทน ครอบฟันเซรามิก บนโครงโลหะในอนาคต แต่เนื่องจากเซรามิกที่ใช้คือ เซอร์โคเนีย ซึ่งมีความแข็งแรงสูงมาก การขึ้นรูปแท่งเซอร์โคเนียให้เป็น ครอบฟันหรือสะพานฟัน ไม่สามารถกรอตกแต่งชิ้นงานได้ด้วยวิธีการใช้มือกรอตกแต่งชิ้นงานตามปกติ แต่ต้องใช้เทคนิคการขึ้นรูปแบบ Ultra High Speed Machining (UHSM) โดยอาศัยเทคโนโลยี CAD/CAM/CNC คือ ออกแบบ ครอบฟัน ในคอมพิวเตอร์, วางแผนการขึ้นรูปชิ้นงานและขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องจักร ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ ครอบฟัน ที่มีความละเอียดและเที่ยงตรง
สะพานฟัน (Bridge)
สะพานฟัน เป็นทางเลือกหนึ่งทางทันตกรรมในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยการใช้ ครอบฟัน ลอย (pontic) ใช้ทดแทนฟันทีสูญเสียไปและเป็นตัวเชื่อม ครอบฟัน ที่เกาะยึดบนฟันซี่ข้างเคียง
ประโยชน์ของ สะพานฟัน
-
ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้มที่สวยงามได้ดังเดิม
-
ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
-
ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
-
ช่วยแบ่งกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ
-
ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
-
ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
-
ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
-
ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ
ประเภทของ สะพานฟัน
สะพานฟัน แบบธรรมดา
สะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วย ครอบฟัน ประเภทต่างๆ แล้วแต่ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งจะมี ครอบฟัน ลอย (Pontic) ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อม ครอบฟัน ที่ยึดติดบนฟันซี่ข้างเคียง การทำ ครอบฟัน ประเภทนี้เป็นที่นิยมทำกันโดยทั่วไป
สะพานฟัน แบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridges)
สะพานฟัน ประเภทนี้จะมีฟันซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการเกาะยึด สะพานฟัน
สะพานฟัน แบบแมรี่แลนด์ (Maryland Bridges) หรือ สะพานฟัน ที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน (Resin-bond bridge) นั้น เป็นการทำ สะพานฟัน ที่มีแกนโลหะ และมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันด้านข้าง
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน
1. สะพานฟัน ที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ
2. สะพานฟัน ที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน
3. สะพานฟัน ที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง)
สะพานฟัน ประเภทเซรามิกผสมโลหะและแบบเซรามิกล้วนจะมีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้ สะพานฟัน แบบเซรามิกผสมโลหะสำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่ง สะพานฟัน แบบเซรามิกล้วนจะให้ความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ส่วน สะพานฟัน แบบโลหะล้วนนั้นจะมี่ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือแตกเหมือนเซรามิก
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำ สะพานฟัน
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำ สะพานฟัน แบบธรรมดา
1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
-
การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของ สะพานฟัน
-
การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ สะพานฟัน
-
การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำ สะพานฟัน
-
การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
-
แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำ สะพานฟัน
-
ทันตแพทย์จะทำการติด สะพานฟัน แบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิต สะพานฟัน แบบถาวร
2. ขั้นตอนการติด สะพานฟัน
-
การรื้อ สะพานฟัน แบบชั่วคราวออก
-
การติดยึด สะพานฟัน แบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่ง สะพานฟัน ให้มีความเหมาะสมที่สุด
3. ขั้นตอนการดูแลรักษา
-
ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึด สะพานฟัน นั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำ สะพานฟัน
การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก สะพานฟัน สามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้ เป็นฐานรองรับ สะพานฟัน มีสุขภาพแข็งแรง
1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึด สะพานฟัน
2. สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆ ได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชา+น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
3. ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติด สะพานฟัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
4. อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบาง ท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
-
หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็น หรือมีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำมะนาว เป็นต้น
-
การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
-
ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
-
ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
5. ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆ จนกว่าจะเคยชินกับ สะพานฟัน ที่มี
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำ สะพานฟัน
1. ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
2. ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
3. ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
4. ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณ สะพานฟัน
5. ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
กด LIKE ศาลาแดง ซ.1 ทันตกรรม แฟนเพจ
กด SUBSCRIBE รายการจัดฟัน
ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันฟรีที่
ศาลาแดง ซ.1 ทันตกรรม
(SDC1st Dentist)
อย่าลืมแชร์สิ่งดีๆ ให้แก่คนที่คุณรัก
02-236-5299, 0809560797
ครอบฟันและสะพานฟัน,
This post is also available in: อังกฤษ
อยากทราบค่าบริการครอบฟันและสะพานฟัน….